My DreAM

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ใจมีธรรมะ

         คนที่มีความรู้ความสามารถเพียงอย่างเดียว อาจจะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปได้ แต่ไม่อาจเป็นที่รัก นับถือของคนรอบข้างได้ ด้วยเพราะปราศจากคุณธรรมที่ควรจะมีไว้ในตนเอง ดังภาษิตที่ว่า "ความรู้ คู่คุณธรรม" นั่นเอง มีธรรมะหมวดหนึ่ง ชื่อว่า อธิษฐานธรรม คือ ธรรมะอันเป็นฐานที่มั่นของบุคคล หรือ ที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ธรรมะในใจ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ นั่นก็คือ

         1. ปัญญา แปลว่า ความรู้ชัด รู้ทั่ว เช่น การศึกษาเล่าเรียน จะเรียนรู้อะไรสักอย่างหนึ่งก็จะต้องศึกษาในเรื่องนั้นๆ ให้เข้าใจ แจ่มแจ้ง ชัดเจน จึงจะเรียกได้ว่า สำเร็จประโยชน์ในการเรียน ไม่มีความบกพร่อง จนในที่สุดก็สามารถที่จะรู้เหตุและผลของสิ่งต่างๆ ได้ตามความ เป็นจริง และปัญญานี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยเหตุ 3 ประการ คือปัญญาเกิดจากการฟัง ปัญญาเกิดจากการคิด และปัญญาเกิดจากการอบรม

         2. สัจจะ แปลว่า ความจริง คือ จริงใจ ประพฤติสิ่งใดก็ให้ทำจริง เช่น ตั้งใจไว้ว่าจะศึกษาเล่าเรียน จะปฏิบัติกิจอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ต้องทำอย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคเข้ามาเบียดเบียน ขัดขวาง ก็จะต้องใช้ความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านั้นให้ได้ จนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการ ดังภาษิตที่ว่า "คนได้เกียรติ เพราะความสัตย์"

         3. จาคะ แปลว่า ความเสียสละ ได้แก่ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ เริ่มต้นตั้งแต่การเสียสละ ให้ปันสิ่งของแก่คนอื่น จนถึงการสละกิเลสที่มีอยู่ในตน

         4. อุปสมะ แปลว่า ความสงบ คือ สงบกาย สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบคือ กิเลส ระงับความขัดข้อง วุ่นวายอันเกิดจากการถูกกิเลสเข้าครอบงำเสียได้ ทำให้จิตใจมีแต่ความสงบ ปราศจากกิเลส ความเศร้าหมองใจ

         การคบหากัน จำต้องมีสัจจะ ความจริงใจซื่อสัตย์ต่อกัน จึงจะได้รับการยกย่องนับถือ ต้องมีจาคะ เสียสละแบ่งปัน การอยู่ร่วมในสังคมหมู่มาก ย่อมที่จะกระทบกระทั่งกันบ้าง จำต้องมีความสงบใจ ชีวิตจึงจะประสบแต่ความสุขตลอดไป ดังนั้น ธรรมะทั้ง 4 ประการนี้ ถ้าอบรมให้เกิดมีขึ้นในจิตใจหรือตั้งธรรมะ 4 ประการนี้ไว้ในใจแล้ว ก็สามารถที่จะทำให้ชีวิตประสบกับสมบัติอันจะพึงมี พึงได้ต่อไปในอนาคต
 ความใส่ใจ

สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตเรามีหลายด้าน
บ่อยครั้งเราเกิดสับสนว่าจะรักษาอะไรไว้
จะเลือกอะไรดี “ระหว่างชีวิตกับความรัก”
เราไม่จำเป็นต้องเลือก
เพราะสองอย่างสำคัญเท่ากัน
เพียงแต่…
“ที่ตรงนั้นกับที่ตรงนี้
ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน”

ถ้าเรารู้จักใช้ชีวิต
เราก็จะรู้วิธีรักษาและดูแลชีวิต
และถ้าเรารู้จักคนรักและความรักอย่างแท้จริง
เราจะรู้จักวิธีประคับประคอง ดูแลรักษา
ให้ความรักเดินไปพร้อมๆ กับด้านอื่นๆ ได้

แล้วถ้าเราเข้าใจทั้งสองด้านได้มากพอ
เราจะไม่รู้สึกเหนื่อยที่ต้องแบกชีวิต
พร้อมกับดูแลความรักให้ดีอยู่เสมอ
เพราะแท้จริงแล้วทั้งสองสิ่ง
ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน
“ชีวิตอาจต้องการการทุ่มเท
แต่ความรักต้องการความใส่ใจ”

15 ข้อคิดสำหรับชีวิต


1.   ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของคนเรา คือ ตัวเราเอง
2.   ความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของคนเรา คือ การอวดดี
3.   ความไร้ปัญญาที่สุดของคนเรา คือ การโกหก
4.   ความน่าเศร้าใจที่สุด คือ การอิจฉาริษยา
5.   ความน่าเศร้าใจที่สุดในชีวิตของคนเรา คือ ความหมดอาลัยตายอยาก
6.   โทษทัณฑ์ที่หนักที่สุดและน่าสงสารที่สุด คือ การหลงตัวเอง
7.   นิสัยที่น่าสงสารที่สุด คือ ความน้อยเนื้อต่ำใจ
8.   ความน่ายกย่องที่สุด คือ ความวิริยะอุสาหะ
9.   ความล้มสลายในชีวิต คือ รู้สึกสิ้นหวัง
10.   ความร่ำรวยในชีวิต  คือ สุขภาพแข็งงแรง
11.   หนี้สินที่ใหญ่ที่สุด คือ หนี้บุญคุณ
12.   ของขัวญที่ล้ำค่า คือ การให้อภัย
13.   ความขาดแคลนของคน คือ เมตตา ประกอบด้วยปัญญา
14.   รู้สึกปิติที่สุด คือ การให้ทาน
15.   ยอมแพ้บ้างเป็นครั้งคราว

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

ความดี อันคนดีทำง่าย


 
ความดี หมายถึง การกระทำ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม คนที่คิดดี ก็จะพูดดีและทำดีด้วย เพราะมีจิตที่เป็นกุศล มองโลกในแง่ดี ทำความดีเป็นปกติวิสัยอยู่ทุกวัน ไม่มีเคอะเขินหรือฝืนใจทำแต่อย่างใด การทำดี ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมในชีวิตของเขา การไม่ได้ทำดี หรือการทำชั่วเสียอีก ที่เป็นสิ่งแปลกปลอมในชีวิตเพราะนาน ๆ จึงจะแว้บเข้ามาในชีวิตจิตใจ จึงเป็นเรื่องฝืนใจอย่างยิ่งที่จะกระทำ
คนดี สามารถทำความดีได้อย่างยิ้มแย้มแจ่มใสมีความสุข อิ่มอกอิ่มใจ จิตเขาห่อหุ้มด้วยกุศล เสียแล้ว การทำความดีจึงเป็นเรื่องง่ายนิดเดียวไม่มีการฝืนใจ เพียงมองโลกในแง่ดี รักเพื่อนมนุษย์ ให้อภัยในความผิดพลาดของคนอื่น ไม่เรียนรู้สังคมโดยใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางชนิดที่ว่า ถ้าคนอื่นพูดหรือทำอะไรไม่ถูกใจ ไม่สอดคล้องกับกิเลส ตัณหาของตนในขณะนั้น ก็จะโวยวาย ตีโพยตีพายไม่ยอมรับ แต่รู้ว่าเพื่อนมนุษย์ผู้เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายยังรู้ธรรมะหรือเข้าใจ ธรรมะน้อยกว่าเราจึงไม่ถือสาหาความ มุ่งแต่ทำความดีเสียสละเพื่อส่วนรวม ลด ละกิเลสอันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ให้บรรเทาเบาบางลง ทำความดีเป็นปกติวิสัยจนเกิดเป็นอุปนิสัยที่เป็นความเคยชิน ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า สุกรํ สาธุนา สาธุ : ความดี อันคน
 "คุณค่าความเป็นมนุย์"


"คุณค่าความเป็นมนุย์ ประกอบด้วย ความจริง ความรัก และความเมตตา ความประพฤติชอบ ความสงบสุข และอหิงสา คือไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
   ถ้าเราจะเจาะลึกเข้าไป...ความจริง คือสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง จริงวันนี้ ก็ต้องจริงทุกวัน ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา และสถานที่ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงหมด โต๊ะตัวหนึ่ง เมื่อร้อยปีที่แล้วเป็นส่วนของต้นไม้ ปัจจุบันถูกดัดแปลงมาเป็นโต๊ะ  อีกร้อยปีคงพังทลายไป โต๊ะนั้นก็ไม่ใช่ความจริงตามนิยาม และในจักรวาลนี้ก็ไม่มีอะไรเป็นความจริง เพราะมีการเกิดดับ พอเราหาทั่วจักรวาลและไม่เจอความจริง   สุดท้ายก็เหลืออีกที่เดียวที่ยังไม่ได้เข้าไปหา นั่นก็คือภายในตัวเราเอง  และเราสามารถกลับเข้าไปค้นหาในตัวเราได้ด้วยการฝึกสมาธิ เพื่อเข้าถึงจิตใจของเรา และเราก็จะเจอว่าในตัวเรามีพุทธะ มีผู้รู้ ผู้ตื่นอยู่ในตัวเรา นี่คือความจริงสูงสุดที่มนุษย์ต้องแสวงหาให้ได้   และในการที่เราแสวงหาความจริง จะต้องอาศัยคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างอื่นมาสนับสนุน  
   ความสงบสุข เราจะมีความสงบสุขได้ก็ต่อเมื่อเราควบคุมอารมณ์ของเรา ควบคุมกิเลส โลภ โกรธ หลง อิจฉาริษยา ยึดมั่นในตัวเอง เราต้องเอาชนะมันให้ได้ เมื่อเราเอาชนะอารมณ์เหล่านี้ได้ เราจะมีความสงบสุขมาก และสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความสงบสุข ก็คือ ความรักและความเมตตา
  เมื่อ เราช่วยเหลือคนอื่น เราไม่คิดถึงตัวเรา ตัวเราก็จะหมดไป เหลือแต่ตัวจริงของเรา คือ พุทธะ เมื่อเราตัดตัวกิเลส ตัดตัวเราออกไป ก็จะมีแต่ความสงบสุข และความรักความเมตตา และก็จะออกมาเป็นการกระทำของเรา  ในลักษณะของการช่วยเหลือผู้อื่น การทำประโยชน์แก่ส่วนรวม การทำแต่สิ่งดีงาม  นั่นคือความประพฤติชอบ ทั้งหมดรวมกันแล้ว ก็จะทำให้ไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่น นั่นก็คือ อหิงสา
  ....เพราะฉะนั้นคุณค่าความเป็นมนุษย์ 5 ประการจะแยกออกจากกันไม่ได้เลย มีอย่างหนึ่งก็มีครบหมด ถ้าอันใดอันหนึ่งขาดหายไป ทุกอย่างก็หายไปหมด...."

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

เห็นแก่ตัว

หนอนกินผัก
สุนัขกัดรองเท้า
เป็นความเห็นแก่ตัวหรือ
ถ้ามันไม่รู้ว่าสิ่งที่มันทำนั้นผิด

ปลากัดกินลูกน้ำ
กาฝากเกาะกิ่งไม้
เป็นความเห็นแก่ตัวหรือ
ถ้ามันมีโอกาสเลือกได้ มันจะทำเช่นนั้นหรือ

ชาวนาถอนหญ้าในนาข้าว
ข้าศึกประหัตประหารกันในสมรภูมิ
นี่ก็เรียกว่าความเห็นแก่ตัวหรือ
ถ้าหน้าที่ไม่บังคับ เขาก็คงหลีกเลี่ยงแล้ว

กระทำเถิดถ้ามันจำเป็นต้องกระทำ
เพื่อความอยู่รอดของชีวิตเฉพาะหน้า
จงเป็นปรกติสุขเถิด
ถ้ามิได้กระทำเกินกว่า ความจำเป็น
ความสำเร็จ

แม้ว่าลาจะร้องเสียงจิ้งหรีดได้
มันก็เป็นความล้มเหลว มากกว่าความสำเร็จ

ทางแห่งความสำเร็จของชีวิต
ไม่อาจเลียนแบบกันได้
ผู้มีทัศนะคับแคบงมงายเท่านั้น
ที่จะเลียนแบบวิถีแห่งความสำเร็จของผู้อื่น

ความพยายามของตัวตน เพื่อตัวตน
ไม่อาจช่วยให้ชีวิตพบความสำเร็จที่แท้จริงได้
เพราะความพยายามเช่นนี้อยู่ที่ไหน
ความสำเร็จที่แท้จริงก็หาอยู่ด้วยไม่
จะมีก็แต่ความสำเร็จจอมปลอม
ที่กว่าจะได้มาก็ต้องทุกข์ทรมาน แสวงหา

การเข้าใจความจริงของชีวิตนั่นเอง
คือความสำเร็จของชีวิต
และการใช้ชีวิตเพื่อสรรพชีวิต
ก็คือหนทางของความสำเร็จ

ปฏิทิน